Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

นี่ ‘วัด’ หรือ ‘Apple store’ ?

เห็นดีไซน์วัดนี้แล้วหลายคนก็เกิดคำถาม
ดูไม่เหมือนอาคารรอบด้าน จะสร้างได้หรือ?
ทำไมไม่สร้างแบบไทย ?

ภาพจำลองทัศนียภาพ วัดพระธรรมกาย นิวคาสเซิล

วันนี้เราจะมาเล่าที่มาที่ไปของดีไซน์ของ Wat Dhammakaya Newcastle ให้ฟังกัน

วัดพุทธไทยในต่างประเทศมีหลายแห่งในหลายประเทศ รูปแบบก็แตกต่างกันออกไปตามบริบทของแต่ละประเทศ ในกรณีวัดพระธรรมกาย นิวคาสเซิล แต่เดิมเกิดจากการซื้อโบสถ์และโรงเรียนคอนแวนต์เก่า ชื่อ St.Andrew มาบูรณะเป็นวัด

ด้วยกฎหมายที่เข้มแข็งของอังกฤษ ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาซื้ออาคารโบราณได้ แถมราคาถูกซะด้วย… แต่ว่าต้องรับผิดชอบบูรณะปรับปรุงให้เป็นเป็นไปตามมาตราฐานของรัฐ ด้วยช่างฝีมือ-ช่างก่อสร้างที่ได้รับการรับรองเท่านั้น การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาถือสิทธิครองอาคารโบราณสถาน จึงถือเป็นการให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระการอนุรักษ์โบราณสถานของเมือง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงและจะได้ถูกนำไปทำประโยชน์ต่อ ทั้งยังไม่กระทบกับทัศนยภาพของเมืองอีกด้วย

พระสมุพิชิต เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย นิวคาสเซิล บอกเล่าถึงความยากในการหาช่างฝีมือเข้ามาบูรณะ เพราะตัวโบสถ์มีอายุกว่า 150 ปี จึงจำเป็นต้องหาช่างผู้เชี่ยวชาญงานโบราณสถานเข้ามาทำตรงนี้เท่านั้น

อาคารอนุรักษ์ที่อังกฤษจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. อาคารที่อายุน้อยกว่า 150 ปี อาคารเหล่านี้จะต้องคงรูปลักษณ์ภายนอกไว้ตามเดิม สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นภายในใหม่ได้
2. อาคารที่อายุมากกว่า 150 ปี อาคารแบบนี้จะต้องคงรูปลักษณ์ทั้งภายในและนอกไว้ตามเดิมทั้งหมด

โบสถ์แห่งนี้ตกอยู่ในประเภทที่ 1 ทำให้สามารถนำมาปรับปรุงให้กลายเป็นวัดไทยได้ โดยมีพื้นที่คอร์ทตรงกลางที่ว่างอยู่ และถูกนำมาสร้างอาคารกระจกหลังนี้เพื่อขยายพื้นที่รับรองผู้มาเยือน พระสมุพิชิตได้เล่าให้เราฟังว่า เจ้าหน้าที่จาก preservation commission (เทียบง่ายๆ ก็เหมือนกรมศิลป์บ้านเรา) แนะนำว่าการก่อสร้างจะต้อง ‘เหมือนเดิม’ หรือ ‘แตกต่าง’ ไปเลย

ในกรณีที่สร้างอาคารที่เหมือนเดิม ก็ต้องใช้ช่างที่มีความรู้เกี่ยวกับยุคนั้น รวมไปถึงวัสดุก็ต้องถูกต้องตามยุคด้วย ซึ่งยากมากและทำให้มีราคาสูง อีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมจึงเป็นการทำให้แตกต่างไปเลย โดยวัสดุที่นิยมใช้ที่สุดก็คือ ‘กระจก’

กระจก ถือเป็นวัสดุยอดฮิตในการใช้กับย่านอาคารเก่า เพราะมีความโปร่งใส แม้จะดูแตกต่าง แต่ก็กลมกลืนไปกับโดยรอบ นอกจากนี้สำหรับประเทศอังกฤษที่ครึ้มฟ้า ครึ้มฝน ชาวอังกฤษจึงโปรดปรานการมีหน้าต่างขนาดใหญ่เพื่อรับแสงอาทิตย์ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่อาคารหลังนี้มีความคล้ายคลึงกับ Apple Store เพราะโจทย์ที่พระอาจารย์มอบให้กับ Plan Architect สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารเสริมหลังนี้ ก็คือต้องการให้อาคารหลังนี้มีความโปร่งตาดูทันสมัย เหมือนกับ Apple Store สาขา Manhattan

Simple, Clear, Relating

อาคารแห่งนี้จึงออกมาในรูปทรงกล่องดูเรียบง่าย เน้นความโปร่งตาที่ทำให้คนรู้สึกเข้าถึงได้ และยังกลมกลืนสัมพันธ์กับโบสถ์ดั้งเดิมของเมือง

ใครที่กำลังรอดูผลงานตอนสร้างเสร็จ ก็ต้องบอกว่าตอนกำลังอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาต น่าจะได้เห็นของจริงกันไม่เกินปลายปี 2022 สามารถติดตามความก้าวหน้าของการก่อสร้างได้ที่ Wat Phra Dhammakaya Newcastle

© 2021 Art of. All rights reserved.

  083-138-5607
contact@artofth.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save