Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

พาส่องบรรยากาศการสังสรรค์ 4 ยุค ผ่านแฟชัน ดนตรี และกราฟิก

จะผ่านไปกี่ปี มนุษย์ก็แยกจากงานปาร์ตี้สังสรรค์ไม่ได้ ว่าแต่… แต่ละยุคมีบรรยากาศยังไงนะ? 

ล่วงเข้าสู่ 2023 มาครึ่งปีแล้ว เมื่อมองย้อนไปในอดีต ในแต่ละยุคสมัยนั้นมีเอกลักษณ์จำเพาะในช่วงเวลานั้นอยู่เสมอ ตั้งแต่ศิลปะ แฟชั่น เพลง ล้วนสะท้อนประวัติศาสตร์และสังคม ณ เวลานั้น หลายสิ่งหลายอย่างอาจเปลี่ยนไป แต่มนุษย์ไม่เคยจะห่างหายไปจากการพบปะสังสรรค์ !

ถึงแม้เราจะไม่สามารถย้อนเวลาได้ แต่การได้เห็นภาพ ได้ยินเรื่องราวของผู้คนในอดีต ได้ฟังเพลงสมัยพ่อจีบแม่ ก็พาเราไปสัมผัสกับช่วงเวลาที่แสนพิเศษเหล่านั้นได้ 

วันนี้เราอยากมาเล่าเรื่ององค์ประกอบต่างๆ ผ่านเรื่องราวในผลงานหนังสั้น ที่พาย้อนไปช่วงเวลา 4 ยุคสมัยจากอดีตจนปัจจุบัน ผ่านสายตาของตัวละครในงานปาร์ตี้งานหนึ่ง ลองสังเกตกันดูดีๆ ว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเหมือนเดิมบ้าง ?


1934

แฟชั่น: แฟชั่นยุค 1930s แม้ไม่ได้โด่งดังเท่ายุค 20s (ที่หลายๆ คนอาจเรียกว่า แกสต์บี้) แต่ก็ถือเป็นยุคที่มีอิทธิผลมาถึงปัจจุบัน ในยุค 20s ชุดผู้หญิงจะไม่รัดรูปหรือรายละเอียดเยอะ เมื่อมาถึงยุค 30s ก็ยังคงความน้อยแต่มากไว้ แต่จะมีความเรียบหรูคล่องตัวกว่าในอดีต เป็นอิทธิพลที่มาจากการที่ผู้หญิงเริ่มมีบทบาทในสังคมวงกว้างมากขึ้น

ชุดมีการเน้นสัดส่วนของผู้หญิงมากขึ้นและเพิ่มรายละเอียดแบบโก้ๆ เข้าไปเช่นการใช้ผ้าซาติน ถุงมือยาว ชุดแบบเปิดหลัง ถือเป็นต้นแบบที่ถูกหยิบมาใช้ในปัจจุบัน

เพลง: เพลง ‘สุขกันเถอะเรา’ หนึ่งในตำนานเพลงจังหวะชะชะช่าเพลงแรกๆ ของไทย ที่ชวนให้ผู้คนออกมาสนุกเต้นรำ เต้นลีลาศ เพื่อปล่อยวางจากความทุกข์ในชีวิต แต่ลักษณะดนตรีที่คลออยู่จะถูกดัดแปลงให้มีความเป็นแจ๊ส ซึ่งดูจะได้รับอิทธิพลจากการที่ ‘คณะละครศรีโอภาส’ ได้เริ่มปฏิรูปรูปแบบเพลงไทยจากไทยเดิมให้มีความสากลมากขึ้น โดยนำเพลงแจ๊สมาประกอบละครในช่วงปี 1931

เมื่อเพลงนี้บวกการเต้นเป็นคู่อย่างนุ่มนวลและพร้อมเพรียงแล้วนั้น ทำให้ภาพออกมาโรแมนติกและโก้หรูมากเลยทีเดียว


1957

แฟชั่น: ยุค 1950s ปลายๆ จนถึง 60s

แฟชั่นในยุคนี้เริ่มเข้าสู่ความสนุกสุดเหวี่ยงและกล้าลองอะไรใหม่ๆ  มากขึ้น ลวดลายและสีสันรับมาจาก 50s แต่เพิ่มความจี๊ดจ๊าด ทั้งผมที่มีวอลลุ่มมากขึ้น และกระโปรงที่สั้นขึ้น (เรียกว่ายิ่งสั้นยิ่งเปรี้ยว)

เพลง: หนึ่งในเพลงที่ถ่ายทอดความสวยงามของเนื้อหา และดนตรีได้ดีที่สุดเพลงหนึ่งของยุค คือเพลง ‘จงรัก’ ตัวแทนของเพลงรักอมตะที่ถูกร้องข้ามผ่านกาลเวลามาในทุกยุคทุกสมัย อย่างเช่นในวิดีโอก็จะมีควาเมป็น Chill Music ที่เชื่อมโยงกับควาเป็นนิรันดร์ของธรรมชาติ

เมื่อปรากฏในฉากวิ่งเล่นริมทะเล ทำให้ยิ่งรู้สึกเหมือนย้อนเวลาไปในยุคนั้นจริงๆ เพราะในยุคนั้นคนจากในกรุงนิยมไปเที่ยวทะเลใกล้ๆ แบบหัวหิน


1990

แฟชั่น: เป็นยุคที่มีเอกลักษณ์มาก องค์ประกอบกำลังดีเพราะมีการลดทอนลงมาจากยุค 80s’ (ยุคนั้นคือสุดทุกทางจริงๆ) โดยเป็นยุคที่แฟชั่นมีอิทธิพลมาจากหนัง ซีรี่ส์และเพลงป็อปเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นชุดยีนส์ เสื้อครอป กระโปรงมินิ ทรงผมจี๊ดๆ  สีสันจัดๆ ซึ่งแฟชั่นยุคนี้เองที่กำลังกลับมาอินเทรนด์มากในตอนนี้ 

เพลง: หากพูดถึงอิทธิพลตะวันตกก็ต้อง Spice Girl, Destiny’s Child และเพลง Hip Hop ต่าง และถ้าเป็นหนึ่งในเพลงที่ฮิตไปทั่วบ้านทั่วเมืองในประเทศไทยก็ต้องเพลง ‘ฝากเลี้ยง’ แม้จะผ่านมามากกว่า 30 ปี เชื่อว่าใครที่ไปเที่ยวกลางคืนก็จะยังมีโอกาสได้แดนซ์เพลงนี้กันอยู่ ! เป็นยุคที่เริ่มผสมผสานวิธีคิดในการทำเพลง เข้ากับการทำธุรกิจ ทำการตลาดมากขึ้น


2018

แฟชั่น: ในยุค 2018 จนถึงปัจจุบันเป็นยุคที่ผู้คนมีอิสระในการเลือกแต่งกายมากขึ้น โดยอาจผสมผสานความชอบจากยุคต่างๆ เลือกหยิบจับมาใส่ตามโอกาส เราอาจจะเห็นผู้หญิงเลือกใส่ flappy dress ยุค 20s แบบพริ้วๆ ไปงาน หรืออาจเป็นแนวเรียบหรูแบบ 30s ก็ได้ ผู้ชายเองก็สามารถเลือกแต่งตัวรายละเอียดแบบวินเทจในบางโอกาสหรือเลือกแต่งแบบมินิมอลสุดๆ ก็ยังได้ ถ้าสูง กางเกงขากระบอกพอดีตัว คือยังไงก็รอด !

เพลง: แม้ในช่วงนี้จะไม่ได้มีการใช้เพลงไหนในการถ่ายทอดเรื่องราว แต่เราจะยังได้ยินดนตรีที่ผสมผสานความวินเทจที่ร่วมสมัย คล้ายๆ ส่วนผสมระหว่าง Synth Pop, Disco ที่เราอาจจะคุ้นเคยจากเพลงของ Polycat


โลโก้สิงห์ ตัวแทนของความสุขในทุกช่วงเวลา

ด้วยองค์ประกอบที่เล่าไปก่อนหน้า ทั้งแฟชั่นไปจนถึงบทเพลง ที่สามารถเล่าบริบทของแต่ละยุค ให้คนคิดถึงช่วงเวลาที่มีความสุขตามประสบการณ์ของตัวเอง

อีกหนึ่งองค์ประกอบซึ่งถูกใช้เป็น Transition เชื่อมต่อแต่ละยุคก็คือ แก้วที่มีโลโก้สิงห์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากโลโก้สิงห์ในแต่ละยุค ตั้งแต่ขวดแรกจนมาถึงปัจจุบัน

1934: ลวดลายสิงห์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโลโก้ดั้งเดิม ที่ยังเป็นหนุมานคาบศร ขี่สิงห์แดง มือซ้ายถือโล่ ว่าวทอง มือขวาถือ เบียร์แหม่ม เป็นช่วงสมัยรัชกาลที่ 6-7 ซึ่งรูปแบบกราฟิกต่างๆ นิยมใช้สีสันที่ฉูดฉาดสะดุดตา เพราะเริ่มมีการผลิตสินค้าในระบบอุตสาหกรรม ลวดลาย และตัวอักษรเริ่มมีรายละเอียดซับซ้อน

1957: ลวดลายที่ 2 ที่ ออกสู่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือเปลี่ยนจากสิงห์แดง มาเป็นสิงห์ทอง บ้างก็ว่ากันว่าเป็นการปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแนวทางสอดคล้องกับหลักสากล ในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม

1990: แม้ลวดลายสิงห์จะดูมีความคล้ายคลึงกับรูปแบบก่อนหน้า ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อนบริบทในยุค Y2K ได้เป็นอย่างดี ด้วยภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ วิถีชีวิตของผู้คนดูจะมุ่งไปสู่ความเรียบง่าย ตัวสิงห์ก็ถูกลดทอนรายละเอียดต่างๆ ออกไป เหลือเพียงเส้นที่เรียบง่าย ที่ดูมีความ flat ขึ้น

2018: ในยุค 2018 ลวดลายสิงห์มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้ง เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่คนให้ความสำคัญกับประสบการณ์มากขึ้น เส้นต่างๆ ยังคงเรียบง่าย แต่เติมรายเอียดเล็กๆ เช่นความหนาที่ปลายเส้น เพื่อให้รู้สึกถึงความหนัก-เบา เหมือนการเคลื่อนตัวอันพลิ้วไหวของสิงห์นั่นเอง

ใครที่อยากเห็นภาพชัดๆ ลองไปดูลวดลายผ่าน SINGHA LIMITED EDITION TUMBLER กันในเว็บไซต์ http://singhalife.com ได้เลย !

© 2021 Art of. All rights reserved.

  083-138-5607
contact@artofth.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save