1470Views

ชวนมาหลงเสน่ห์ NEW YORK รู้จักศิลปะ Pop Art และ Street Photography ผ่าน 5 ศิลปินงานเท่ข้ามศตวรรษ
จาก Pop Art มาถึง Street Photography
พามาดูงานศิลปะดีๆ จากมหานคร New York ยุค 50s-80s กัน
นิวยอร์กไม่ใช่มหานครที่เก่าแก่โบราณเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ทั่วโลก แต่เสน่ห์เฉพาะตัวและจุดเด่นที่ยากจะเลียนแบบของเมืองแห่งนี้คือ ‘ผู้คน’
หากใครรู้จักนิวยอร์กมาบ้าง จะรู้ว่าเป็นเมืองใหญ่ที่มีผู้คนจากทั่วโลกย้ายเข้ามาเพื่อไขว่คว้าหา ‘โอกาส’ เมืองนี้จึงขับเคลื่อนไปด้วยธุรกิจ แสงสี และเรื่องราวที่ผู้คนพามารวมกัน เป็นมหานครที่ให้กำเนิดศิลปินมากมาย และเป็นผู้นำของงานสายสตรีทหัวขบถอย่างไม่ต้องสงสัย
ยุคสมัยใหม่เป็นยุคที่มีสไตล์งานเกิดขึ้นมากมายจำกันไม่หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 ผู้คนได้กลับมาใช้ชีวิต และศิลปินก็ได้โอกาสบ่มเพาะสไตล์งานใหม่ขึ้นมา
ไอ้คำว่า ‘Pop Art’ ที่พูดกันบ่อยๆ ก็บูมมาจากยุคนี้ หรือจะ ‘Street photography’ ของนิวยอร์กก็เท่สุดใจ ผ่านไป 60 ปีก็ยังคูล
วันนี้จะมาแนะนำนักสร้างสรรค์ชาวนิวยอร์กโดย(ไม่)กำเนิดในช่วงปี 50s-80s มารู้จัก Andy Warhol กับกระป๋องซุปแคมเบล, SAUL LEITER ช่างภาพที่ถ่ายรูปสตรีทมา 40 ปีแต่ดันไม่โชว์ผลงาน และผู้นำวงการป๊อบอาร์ตอีกหลายคน
ผ่านคอลเลคชั่น UT จาก Uniqlo ที่คราวนี้จับมือกับศิลปินที่ยังมีชีวิตและองค์กรทางศิลปะ นำลิขสิทธิ์ภาพมาทำเป็นเสื้อยืดให้ได้จับจองกัน
สนใจแวะชมกันได้ที่ Uniqlo ทุกสาขา หรือเว็บไซต์ https://s.uniqlo.com/ut-art-01

ที่บอกว่าชาวนิวยอร์กโดย(ไม่)กำเนิด ก็เพราะศิลปินทั้งหมดไม่ได้เกิดที่นั่น แต่เป็นหนึ่งในคนที่เข้ามาหาประสบการณ์-ทำงานในมหานครแห่งนี้
งานของแต่ละคนจึงมีความต่าง แต่ในขณะเดียวกันก็มีกลิ่นอายของเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจ โฆษณา และสีสันของผู้คนแฝงอยู่
1. SAUL LEITER

ปัจจุบันพูดถึงภาพสี คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ลองจินตนาการในยุคที่เพิ่งมีฟิล์มสีเป็นครั้งแรกสิ การถ่ายภาพสีแทบจะเป็นศาสตร์แขนงใหม่ไปเลย
“We live in a world of color.
We’re surrounded by color.”
เมื่อพูดถึงช่างภาพสีสายสตรีทที่มีฝีมือโดดเด่น ต้องมีชื่อของ Saul Leiter โผล่ขึ้นมาแน่นอน เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพที่มีซีรีส์ผลงานภาพสีในยุค 50s-80s ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
Saul Leiter ทำงานในฐานะช่างภาพแฟชั่นนานหลายสิบปี ข้ามผ่านช่วงเปลี่ยนจากฟิล์มขาว-ดำมาเป็นฟิล์มสี Kodachrome จวบจนจะเกษียณ แต่ชื่อของเขาไม่เคยปรากฎในฐานะช่างภาพสตรีทฝีมือดีเลยในช่วงหลายสิบปีนั้น

แล้วทำไมไม่มีชื่อ Saul ในช่วงเวลานั้น ?
ต้องเล่าย้อนกลับไปว่า Saul เกิดและเติบโตมาในเมืองพิตต์สเบิร์ก มีพ่อที่เคร่งศาสนาและต้องการให้เขาเป็นผู้สอนศาสนาด้วย แต่เขามีใจรักในศิลปะ ไม่ใกล้เคียงกับความต้องการของพ่อเลย
Saul มุ่งสู่นิวยอร์กและเริ่มต้นเส้นทางสายศิลปะด้วยการเรียนวาดรูป (แถมเป็นแนว Abstract ซะด้วย) จนได้พบกับ W. Eugene Smith ที่ชวนให้เขาลองมาถ่ายรูป จนนำเขาไปสู่การมีนิทรรศการที่ MoMA ร่วมกับศิลปินอื่น ๆ อีก 25 คน จากนั้นเขาก็ได้งานประจำเป็นช่างถ่ายรูปแฟชั่นให้นิตยสารชื่อดัง ทำให้เขามีเวลาได้ทดลองหาสไตล์การถ่ายรูปของตัวเองเพิ่มขึ้น
เขาชื่นชอบการเดินถ่ายภาพไปตามท้องถนนในนิวยอร์ก สไตล์ที่เขาพัฒนาขึ้น คือการใช้เลนส์เทเลระยะ 150 mm ถ่ายภาพสตรีท ผลคือองค์ประกอบต่างๆ จะถูกแบ่งเป็นเลเยอร์ เห็นมิติวัตถุชัด-ตื้น บางส่วนเบลอนัวเหมือนฝีแปรงพู่กัน บางส่วนชัด บางส่วนเบลอ ราวกับใช้กล้องถ่ายรูปบันทึกภาพสีน้ำมันของนิวยอร์กที่พล่าเลือน
แต่ ! ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี ผลงานทั้งหมดกลับไม่เคยนำออกมาให้ใครได้เห็นเลย จนกระทั่งปี 2006 เพื่อนที่ได้เห็นผลงานของเขาก็ชักชวนให้มาจัดแสดงนิทรรศการ ภายใต้ชื่อ “Early Color” จัดแสดงที่ Howard Greenberg Gallery เท่านั้นแหละ ชื่อของ Saul Leiter ก็ดังระเบิดทันที !

เขาเสียชีวิตลง 7 ปีหลังจากงานนั้น ภาพของเขาไม่เคยถูกนำไปทำเสื้อที่ไหน คอลเลคชั่นของ UT นี้จึงเป็นครั้งแรกที่ผลงานของ Saul Leiter มาอยู่บนเสื้อยืด
2. Andy Warhol
ไม่ใช่คนแรกที่ทำ Pop Art แต่เป็นคนที่ทำให้ดังไปทั่วโลก!

พูดถึงงานสไตล์ Pop Art ศิลปินคนแรกที่คนจะนึกถึงก็คงจะเป็น Andy Warhol คนนี้เนี่ยแหละ ด้วยงานที่โดดเด่นประกอบกับคาแรคเตอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้แอนดี้โด่งดังทั้งในอเมริกาและไปจนถึงระดับโลก
ในวัยเด็กแอนดี้มีปัญหาเรื่องการเข้ากับสังคมอยู่มาก นั่นทำให้เขาค่อนข้างเก็บตัว ทว่าในวัยทำงาน เขาเรียนรู้ว่าทักษะการเข้าสังคมสำคัญมากในการ ‘ขายงาน’
ด้วยความตั้งใจที่จะเลิกเป็นอิลลัสเตรเตอร์ที่ต้องวาดงานตามสั่ง มาเป็นศิลปินที่สามารถสร้างผลงานได้ตามใจ เขาจึงต้องปรับการแต่งตัวและการเข้าสังคมครั้งใหญ่ และนั่นรวมไปถึงการหันมาทำงาน ‘Pop Art’ อย่างเต็มตัวด้วย

Pop Art คืออะไร ?
สไตล์นี้เกิดในช่วงเวลาหลังสงครามที่ธุรกิจเริ่มกลับมาคึกคัก การมาถึงของทีวีทำให้งานโฆษณาเฟื่องฟู เริ่มมีสินค้าแบรนด์คุ้นหูออกมาสู่ตลาด ศิลปินจึงหยิบเอาของพวกนี้มาใช้ทำผลงาน พูดง่ายๆ คือการเอาของที่กำลังอยู่ในเทรนด์มาเล่นนั่นเอง
ด้วยความตั้งใจจะเป็นคนป๊อบๆ ของแอนดี้ เขาจึงเลือกทำงานที่เกาะกระแส เช่น เขาเลือกทำภาพพิมพ์ มาลาริน มันโร ออกมาหลังจากที่เธอเสียชีวิตได้ไม่นาน แน่นอนว่าปัจจุบันภาพหนึ่งขายได้เป็นล้านเหรียญ
แล้วทำไมต้องซุป Campbell ?
ซุปแคมเบลเป็นของโปรดวัยเด็กที่แม่ทำให้เขากิน และมันไม่ใช่ของโปรดของเขาคนเดียว ซุปกระป๋องเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นกลางอเมริกันที่กำลังทำงานสร้างฐานะ ทำให้ไม่มีเวลาทำอาหาร อาหารสำเร็จรูปที่ทำง่าย เร็ว และมีราคาถูกด้วยการผลิตแบบโรงงานจึงเป็นทางออก (เปรียบเป็นคนไทยก็คงมาม่า)
การหยิบเอาซุปแคมเบลมาเล่น จึงไม่ใช่แค่ความชอบส่วนตัว แต่คือประสบการณ์ร่วมกันของชาวอเมริกันหลายล้านคนที่วัยเด็กต้องเคยกินซุปกระป๋องกันมาบ้าง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลงานชิ้นนี้ป๊อปปูล่ามาจนถึงยุคปัจจุบัน

Uniqlo ก็ไม่พลาดจะคัดเลือกลายเหล่านี้มาทำเป็นเสื้อยืดคอลเลคชั่น UT โดยได้รับลิขสิทธิ์แท้มาจาก Andy Warhol Foundation for the Visual Arts องค์กรที่ทำหน้าที่สนับสนุนงานศิลปะของศิลปินรุ่นใหม่ๆ
มาต่อกันศิลปินถัดไป ซึ่งต้องบอกก่อนว่า 3 คนต่อจากนี้จะเป็นแก๊งค์เดียวกัน (อยู่ในคอลเลคชันเสื้อ UT – NYC POP ART ICONS) ผู้เปลี่ยนนิวยอร์กให้มีชีวิตชีวา ด้วยพลัง Pop Art

ในช่วงยุคตั้งแต่ 50 ที่แนวทางศิลปะ Pop Art ค่อยๆ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น มีศิลปินที่สร้างผลงานอันโดดเด่นมากมาย เริ่มตั้งแต่กลุ่มศิลปินในยุโรปอย่าง Independence Group ไปจนถึงฝั่งอเมริกาอย่าง Andy Warhol
ซึ่งถ้าเรามามองในอเมริกา เราจะเห็นงานอันโดดเด่นจาก 3 ศิลปินในกลุ่ม Movement เรื่องศิลปะที่เรียกว่า #EastVillage อย่าง Keith Haring, Jean-Michel Basquiat และ Kenny Scharf ซึ่งเปลี่ยนมหานครนิวยอร์กให้มีชีวิตชีวา กลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม Pop Art ในยุค 80 ทันที !
3. Keith Haring
จากภาพวาดในรถไฟใต้ดิน สู่ลายเส้นคนเต้นระบำสุดสนุก

Keith Haring เริ่มต้นจากการวาดภาพบนกระดานติดใบปลิวในสถานีรถไฟใต้ดิน และค่อยๆ พัฒนาจนได้สไตล์ลายเส้นโค้งมนเป็นเอกลักษณ์ สีสันสดใส
นอกจากนี้ยังหยิบยกเอาวัฒนธรรมบนท้องถนนนิวยอร์กในช่วงยุค 80 มาถ่ายทอดเป็นตัวละครที่ดูสนุกสนาน ซึ่งหนึ่งในภาพจำก็คงหนีไม่พ้น Radiant Baby หนึ่งในลายเสื้อ UT ที่เป็นภาพเด็กคลาน มีรัศมีพุ่งรอบตัว
4. Jean-Michel Basquiat
เจ้าของงานกราฟฟิตี้หัวขบถแห่งยุค 80s

Jean-Michel Basquiat เป็นอีกศิลปินผู้ปลุกกระแสศิลปะ Pop Art ในสไตล์ Graffiti ที่ได้รับแรงบันดาลใจครั้งใหญ่ในชีวิตจากหนังสือกายวิภาค ในระหว่างรักษาตัวจากการถูกรถชนตอนเด็ก
ผลงานของ Basquiat มักเล่าเรื่องราวที่จิกกัด วิพากษ์วิจารณ์สังคมในหลายประเด็น เช่นเรื่องการเมือง และที่เด่นชัดที่สุดคือเรื่องการเหยียดสีผิว โดยมักนำเสนอผ่านความ Contrast สุดขั้วของสองสิ่ง
และการได้พบกับ Andy Warhol ที่เป็นเหมือนไอดอลของเขา ก็ยิ่งทำให้ Basquiat เป็นหนึ่งในศิลปิน Pop Art ที่คนพูดถึงมากที่สุดคนหนึ่งในยุค 80
5. Kenny Scharf
ภาพการ์ตูนสีสดใส ที่ซ่อนความดาร์กของการกดทับในสังคม

อีกศิลปิน Kenny Scharf ผู้ที่เรียนจบทางด้านศิลปะเป็นอย่างดี แต่เลือกสร้างสรรค์ผลงานที่ดูออกนอกขนบ ด้วยแรงบันดาลใจในวัยเด็ก เช่น Flintstones
จนในที่สุดก็ออกมาเป็นตัวการ์ตูนสีสันฉูดฉาด ดูสนุกสนานตื่นเต้น แต่แฝงด้วยความเศร้าหม่น สะท้อนอุดมการณ์ทางศิลปะอันหนักแน่น ที่จะพูดถึงเรื่องราวที่กดทับสังคม เช่น เรื่องสงครามเย็น หวังปลอบประโลมคนที่เสพงานศิลป์ของเขานั่นเอง

ซึ่งศิลปินทั้ง 5 ที่เราเล่าให้ฟัง ล้วนเป็นศิลปิน Pop Art ที่สร้างสรรค์งานเกี่ยวข้องกับนิวยอร์ก ที่มีสไตล์แตกต่างกัน แต่ล้วนมีเอกลักษณ์โดดเด่นทั้งสิ้น ซึ่งตอนนี้ผลงาน และสไตล์อันเป็นไอคอนของยุค ก็กลายมาเป็นเสื้อ UT Art Collection ถึง 3 คอลเลคชัน
- SAUL LEITER >> วางขายเรียบร้อยแล้ว !!
- Andy Warhol Kyoto >> คอลนี้วางขาย 12 Sep 2022
- NYC POP ART ICONS (ที่มีลายของ 3 ศิลปิน Keith Haring, Jean-Michel Basquiat และ Kenny Scharf) >> คอลนี้วางขาย 24 Oct 2022

ลองไปดูรายละเอียดของเสื้อในแต่ละคอลเลคชันกัน ! เริ่มจากของคุณ Saul Leiter สนใจแวะชมกันได้ที่ Uniqlo ทุกสาขา หรือออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://s.uniqlo.com/ut-saulleiter_01

ดีเทล UT คอลเลคชัน Andy Warhol Kyoto เรียกได้ว่าหยับจับผลงานผลงานสุดไอคอนิก ในสไตล์ของ Warhol มาผสมผสานกับความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างลงตัว คอลเลคชันนี้จะวางขาย 12 Sep 2022 ใครอยากได้เป็นเจ้าของ อดใจรอกันอีกไม่นาน

คอลเลคชัน NYC POP ART ICONS ที่ประกอบไปด้วยลายเสื้อของ 3 ศิลปิน Keith Haring, Jean-Michel Basquiat และ Kenny Scharf
คอลเลคชันนี้จะวางขาย 24 Oct 2022 รอกันอีกซักพัก แต่สวยคุ้มค่าแน่นอน !! เตรียมไปจับจองกันได้ที่ Uniqlo ทุกสาขา หรือออนไลน์ที่ https://s.uniqlo.com/ut-art-01 ก็ได้นะ


