Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ย้อนเวลาผ่าน ‘ใบปิด’ สู่ยุคทองภาพยนตร์ไทยใน ‘มนต์รักนักพากย์’

ภาพยนตร์อีกหนึ่งเรื่องที่แค่ปล่อย Trailer ก็กลายเป็นที่พูดถึงในโซเชียลทุกแพลตฟอร์ม (มีทวิตเตอร์แมสๆ เพียบ 😆) เรียกได้ว่าถ้าเทียบเป็นสถานการณ์แบบในหนัง ก็คือมีคนมาปูเสื่อนั่งหน้าจับจองรอชมกันเต็มพื้นที่เรียบร้อย

‘ใบปิด’ ศิลปะที่เคียงคู่วงการภาพยนตร์ไทย

‘มนต์รักนักพากย์’ สร้างกลิ่นอายบรรยากาศของหนังยุคทองที่เหมือนได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่ ‘ใบปิด’ สำหรับโปรโมตภาพยนตร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในการนำเสนอแง่มุมที่น่าสนใจของภาพยนตร์แต่ละเรื่องในสมัยก่อน ผ่านมุมมอง และลายเส้นของศิลปิน

สำหรับใบปิดในเรื่องมนต์รักนักพากย์ เป็นผลงานขึ้นโครงวาดมือ นำทีมโดย ‘อาจารย์บรรณหาร ไทธนบูรณ์’ ศิลปินชั้นครู ผู้เคยฝากผลงานมากมายในวงการใบปิดภาพยนตร์ไทย ซึ่งก็ถ่ายทอดลายเส้นออกมาบนใบปิดนี้ได้อย่างมีเสน่ห์ถึงจิตวิญญาณยุคทองภาพยนตร์ไทยได้จริงๆ

เดินทางย้อนเวลาผ่านใบปิด ‘อินทรีทอง’

ถ้าใครที่พอคุ้นกับตัวละครบนใบปิด น่าจะรู้ได้ในทันทีว่าแรงบันดาลใจสำคัญของใบปิดนี้ มาจากใบปิดเรื่อง ‘อินทรีทอง’ ภาพยนตร์ขึ้นชื่อ และเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในชีวิตของพระเอกดังแห่งยุค ‘มิตร ชัยบัญชา’

ซึ่งถ้าเราอ้างอิงจากใน Trailer ก็คงพอจะคาดเดาได้ว่าภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง คงจะกลายเป็นองค์ประสำคัญที่ใช้สร้างประสบการณ์ร่วมให้กับผู้ชม พาเราย้อนเวลาไปสู่ยุคทองของภาพยนตร์ไทย ที่มีการตระเวนฉายหนัง และพากย์หนังกลางแปลงผ่านรถเร่ขายยาอีกครั้ง

เรียกได้ว่าสามารถกำหนด Mood & Tone ของภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้ด้วยใบปิดแค่ใบเดียว กลายเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มอรรถรสในการชมภาพยนตร์ ด้วยมนต์เสน่ห์ และอัตลักษณ์ที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราวของภาพยนตร์ และจิตวิญญาณแห่งยุค 60s

ใครสนใจอยากย้อนเวลาสู่ยุคทองภาพยนตร์ไทย สามารถรับชมได้ทาง Netflix วันที่ 11 ตุลาคมนี้ !

© 2021 Art of. All rights reserved.

  083-138-5607
contact@artofth.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save