Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

หนังสือเรียนก็เหมือน “พิพิธภัณฑ์ศิลปะ” ชวนไปดูการปฏิรูปวงการศึกษาไต้หวันด้วยศิลปะบนหนังสือเรียน

เชื่อว่าสื่อแบบเป็นทางการชิ้นแรกที่เราได้สัมผัสในชีวิตคงหนีไม่พ้น ‘หนังสือเรียน’ ซึ่งอยู่คู่กับนักเรียนตลอดช่วงที่อยู่ในระบบการศึกษา ไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็ตาม ตัวหนังสือเรียนเองก็ต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอทั้งในส่วนของเนื้อหาเพื่อให้อัปเดตทันกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการออกแบบสร้างสรรค์หน้าตาให้มีสีสัน มีชีวิตชีวา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้สึกสนใจอยากที่จะเรียนรู้

วันนี้อยากชวนเพื่อนๆ มาดูหนังสือเรียนจากไต้หวัน โดย Aestheticell Association ที่เกิดจากการก่อตั้งของนักศึกษามหาวิทยาลัย 3 คน ที่ต้องการผสมผสานประสบการณ์ด้านสุนทรียศาสตร์ลงไปในหนังสือเรียน ทั้งการจัดองค์ประกอบ การใช้กราฟิก สีสัน จนหนังสือเรียนเหมือนกับเป็น “พิพิธภัณฑ์ศิลปะ”


Aestheticell Association

นอกจากสำนักพิมพ์หนังสือเรียนโดยทั่วไปแล้ว ยังมีนักศึกษามหาวิทยาลัย 3 คน คุณเฉิน (Chen Mu-Tian), คุณจาง (Chang Bo-Wei) และ คุณหลิน (Lin Zong-Jun) ที่ต้องการผสมผสานประสบการณ์ด้านสุนทรียศาสตร์ลงไปในหนังสือเรียน

จึงได้เข้าร่วมโครงการออกแบบหนังสือเรียนรูปแบบใหม่ในปี 2013 จนได้รับการการันตีความสร้างสรรค์โดยรางวัลต่างๆ ทั้งจากไต้หวัน คือ Golden Pin Design Award และรางวัลจากต่างประเทศ คือ Red Dot Design Award (Germany)

ผลงานชิ้นดังกล่าวยังเป็นงานที่กลายเป็นส่วนสำคัญในการสร้างการรับรู้ กระตุ้นให้คนเห็นคุณค่าด้านความสวยงามในการออกแบบ ทั้งในคนทั่วไป สำนักพิมพ์ และกระทรวงศึกษาธิการของไต้หวัน


เซนส์การรับรู้ด้านความงาม

ทีม Aestheticell Association ที่ประกอบด้วยนักศึกษา 3 คนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในไต้หวัน ได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศทางยุโรป ได้ซึมซับวัฒนธรรมความงามในรูปแบบต่างๆ และเกิดความรู้สึกบางอย่างเมื่อเดินทางกลับมาถึงไต้หวัน

ความแตกต่างของการออกแบบที่วิจิตรปราณีตของยุโรป กับรูปแบบเมืองที่ซับซ้อนวุ่นวายของไต้หวันอยู่ที่ตรงจุดไหนกันแน่? หากมองย้อนกลับไปที่รูปแบบการใช้ชีวิตของชาวไต้หวัน นอกจากคาบเรียนวิชาศิลปะหรือการประกวดแข่งขันวาดภาพของโรงเรียนแล้ว ชีวิตด้านอื่นๆ แทบจะหาความสัมพันธ์กับศิลปะไม่ได้

ในทางกลับกัน คาบเรียนวิชาศิลปะเหล่านี้ไม่ใช่วิชาหลักในหลักสูตรการศึกษาในประเทศต่างๆ ทางยุโรป หรือสหรัฐอเมริกาา แต่เด็กๆ เหล่านั้นกลับได้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม เซ้นส์การรับรู้ด้านความงามจึงถูกพัฒนาขึ้นมาโดยธรรมชาติ


ความตั้งใจที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์แก่ให้เด็กๆ ผ่านหนังสือ

ในระยะเวลา 12 ปีของการศึกษาภาคบังคับในไต้หวัน พบว่านักเรียนไต้หวันใช้เวลาโดยประมาณ 12,760 ชั่วโมงในการเรียนรู้ผ่านหนังสือเรียน และการเข้าเรียนในห้องเรียน ดังนั้นไม่ว่าพื้นฐาน ที่อยู่ หรือฐานะทางบ้านจะแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม หนังสือเรียนก็ยังเป็นเป็นสื่อการเรียนแรกที่พวกเขาได้รับอย่างเป็นทางการ ซึ่งแน่นอนว่าจะกลายเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่จะอยู่กับพวกเขาต่อไปในอีกหลายปีในอนาคต

จนต่อมาในปี 2013 นักศึกษามหาวิทยาลัยทั้งสามท่านได้ก่อตั้ง Aestheticell Association และออกโครงการส่งเสริมความสร้างสรรค์สวยงามแก่หนังสือเรียนโดยมุ่งจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดีไซน์ของหนังสือเรียนในไต้หวัน ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการปฏิรูปวงการการศึกษาผ่านทางการออกแบบหนังสือเรียนของนักเรียนระดับประถมถึงมัธยมต้น

หลังจากโครงการประสบความสำเร็จใน ผ่านความร่วมมือของนักออกแบบมากกว่า 50 คน การันตีด้วยหนังสือเรียนกว่า 15 เล่ม ที่จัดพิมพ์และแจกจ่ายไปยังโรงเรียนต่างๆ ซึ่งหนังสือเรียนที่ถูกออกแบบใหม่นี้ ผ่านการออกแบบด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป ทั้งการจัดเรียงเนื้อหา การใช้ภาพประกอบแผนผัง ภาพวาดประกอบ ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีโลกเสมือน (AR Technology) และ การสอดแทรกกิจกรรมเกมเข้าไปในเนื้อหา 


“การออกแบบคือศิลปะแห่งการจัดการ”

Aaron Nieh และ สยาม อัตตะริยะ

คำกล่าวโดยนักออกแบบชื่อดังชาวไต้หวัน ‘Aaron Nieh’ และ ‘คุณสยาม อัตตะริยะ’ นักออกแบบชาวไทยในบทสัมภาษณ์การออกแบบหนังสือเรียนในไต้หวันและประเทศไทย

“ภายใต้ยุคแห่งการแข่งขัน หนังสือที่เนื้อหาดีและมีความสร้างสรรค์ในการออกแบบจะช่วยให้นักเรียนเลิกกลัวหนังสือ และยังเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ของนักเรียน” – สยาม อัตตะริยะ

“ด้วยความหลากหลายของเทคนิคการออกแบบยังช่วยสร้างเสริมประสบการณ์การรับรู้ทางประสาทสัมผัสของเด็กๆ และกลายเป็นพื้นฐานในมุมมองด้านความงามของพวกเขาในอนาคต” – Aaron Nieh 


ความสวยงามเป็นกุญแจสู่การปฏิรูปการศึกษา

ตอนเริ่มต้นโครงการปฏิรูปความสวยงามของหนังสือเรียน เป็นเหมือนโครงการต้นแบบนำร่อง เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหนังสือเรียนในทุกพื้นที่ แม้จะอยู่นอกเหนือการจัดการของรัฐบาลและเหล่าสำนักพิมพ์

การจัดพิมพ์หนังสือเรียนของสำนักพิมพ์ในไต้หวันโดยส่วนใหญ่จะต้องจัดทำเนื้อหาหนังสือให้ตรงกับการกำหนดหลักสูตรใหม่จากรัฐบาลที่จะเปลี่ยนในทุกๆ 3-5 ปี รวมถึงรายละเอียดด้านการพิมพ์ เช่น การใช้กระดาษ การเลือกฟ้อนต์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ทางรัฐบาลกำหนด

ในความเป็นจริงแล้วกระบวนการการออกแบบมักจะอยู่ในขั้นตอนท้ายๆ ของการผลิตสิ่งพิมพ์เสียด้วยซ้ำ ทำให้ระยะเวลาการทำงานของนักออกแบบและการผลิตต้องรีบเร่ง นอกจากนี้หนังสือเรียนของไต้หวันยังต้องถูกควบคุมราคาโดยรัฐบาล ทำให้ทางสำนักพิมพ์ที่มีต้นทุนการผลิตจำกัดไม่สามารถพัฒนาการออกแบบที่ดีขึ้นแก่หนังสือเรียนได้

แต่ทุกวันนี้ การปรับปรุงหนังสือภายใต้โครงการของ Aestheticell เป็นเหมือนการปลูกฝังเพื่อส่งต่อนักออกแบบที่มีพรสวรรค์ให้เข้าสู่วงการสิ่งพิมพ์ทางการศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลหันกลับมาสนใจในความงามและสุนทรียภาพทางการศึกษารวมทั้งบรรยากาศรอบๆ สถาบันการศึกษา เช่นกรณีกระทรวงศึกษาธิการไต้หวันได้อนุมัติงบการออกแบบหนังสือเรียนใหม่อย่างเป็นทางการ หรือกรณีสถาบันวิจัยส่งเสริมการออกแบบแห่งไต้หวันได้สนับสนุนโครงการการเคลื่อนไหวทางการออกแบบในสถานศึกษา (Design movement on campus Project) เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาและห้องเรียน

ความตั้งใจของโครงการต้องการให้หนังสือเรียนกลายเป็นสิ่งที่ปลูกฝังเรื่องความสวยงามของการออกแบบตั้งแต่ในฐานะนักเรียน สู่ช่วงชีวิตที่มีลูกกลายเป็นผู้ปกครอง และได้ย้อนคิดว่าการใช้หนังสือแบบเรียนเป็นตัวกระตุ้นในการสร้างความหลากหลายในมุมมองของความสวยงาม จะยิ่งช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง


ตัวอย่างหนังสือวิชาต่างๆ

วิชาพละศึกษา

วิชาวิทยาศาสตร์

วิชา สปช. สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต

ครอบคลุมถึงเนื้อหาการรับมือภัยธรรมชาติ เช่นไฟไหม้ แผ่นดินไหว

วิชาสังคมศึกษาและหน้าที่พลเมือง

วิชาคณิตศาสตร์


ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

© 2021 Art of. All rights reserved.

  083-138-5607
contact@artofth.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save