427Views
‘Catenary Arch’ สะท้อนความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการออกแบบด้วยเทคโนโลยีจาก CPAC 3D Printing Solution
เมื่อเราสามารถ Print ได้ทุกอย่าง
แม้แต่ ‘คอนกรีต’
พาไปดูหนึ่งในแลนด์มาร์คในงาน Bangkok Design Week 2024 ประติมากรรมโครงสร้างปูนที่ไม่ได้หล่อขึ้นมา แต่เกิดจากการทำ ‘3D Printing’ ขึ้นมาทั้งชิ้น !
เราอาจจะเคยเห็นการทำ 3D Printing ชิ้นเล็กๆ อย่างถ้วยน้ำหรือเก้าอี้สักตัว หลักการทำงานคือใช้หัวฉีดวัสดุวนเป็นชั้นขึ้นไป เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงที่เรากำหนด เป็นเทคโนโลยีที่เราเริ่มเห็นกันแพร่หลายในอุตสาหกรรม แน่นอนว่าวงการสถาปัตย์ก็ไม่น้อยหน้า ไอเดีย 3D Concrete Printing จึงเกิดขึ้น
ทว่าการพรินต์คอนกรีตสำหรับการก่อสร้างกลับประสบปัญหาหลายอย่าง ทั้งขนาดที่ใหญ่โต น้ำหนักมาก และคอนกรีตทั่วไปที่อาจเหลวจนไม่เป็นทรง เป็นความท้าทายที่ทั่วโลกกำลังพยายามก้าวข้าม
วันนี้เลยขอพาไปเจาะเบื้องหลังงาน “Catenary Arch : ซุ้มคาเทนารี” ที่บริเวณลานจตุรัสไปรษณีย์ ที่เกิดจากการออกแบบของ ‘DesireSynthesis’ โดยใช้เทคโนโลยีจาก CPAC 3D Printing Solution มาสะท้อนความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อโลก
สำหรับใครที่ไปเดินงาน #BKKDW2024 แล้วผ่านไปที่อาคารไปรษณีย์กลางอย่าลืมแวะไปชม หรือจะแค่แวะไปนั่งพักให้หายเหนื่อย ก็ถือว่าตอบโจทย์ตามที่ออกแบบมาแล้วนะ !
“Catenary Arch : ซุ้มคาเทนารี” จุดนัดพบ และที่พักผ่อนหย่อนใจ
“Catenary Arch” เป็นผลงานจากความร่วมมือระหว่าง ‘CPAC Green Solution’ ผู้นำด้านนวัตกรรมก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อม กับคุณเศณวี ชาตะเมธีวงศ์ และคุณพชร เรือนทองดี สถาปนิกและผู้ร่วมก่อตั้งแห่ง ‘DesireSynthesis’
โดยผลงานนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาการก่อสร้างด้วยคอนกรีตในปัจจุบัน ซึ่งต้องใช้ ‘ไม้แบบ’ จำนวนมาก เป็นโครงสร้างชั่วคราวที่ใช้ในการหล่อคอนกรีตให้เป็นรูปร่างที่เราต้องการ ซึ่งสุดท้ายไม้แบบก็จะเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้การหล่อคอนกรีตเป็นรูปทรงโค้งอิสระก็ยากที่จะทำ การใช้ 3D Printing จึงเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ ทลายขอบเขตการก่อสร้างแบบเดิมๆ ยุคนี้จะโค้งอิสระแค่ไหนก็สร้างได้
แก้ปัญหาด้วยคอนกรีตสูตรรักษ์โลก จากนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution
CPAC 3D Printing Solution นำเสนอเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถพรินต์คอนกรีตออกมาได้อย่างอิสระ แต่ตอนนี้สามารถทำได้ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น… ใหญ่จนเข้าไปอาศัยอยู่ได้เลยทีเดียว
ทว่าจะใช้คอนกรีตแบบทั่วไปก็ไม่ได้ เพื่อให้สามารถซ้อนขึ้นไปเป็นชั้น มีความแข็งแรง แห้งเร็วในอุณหภูมิบ้านเรา CPAC Green Solution ทำการคิดค้นคอนกรีตสูตรรักษ์โลกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับเทคโนโลยี 3D Printing
ด้วยโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาโดยเฉพาะประกอบกับการออกแบบที่ลื่นไหล ร้อยเรียงอย่างอิสระ ออกมาเป็นประติมากรรมซุ้มประตูขนาด 3 x 3.5 ม. และสูง 2.7 ม. ด้วยรูปทรงแสดงถึงการถ่ายแรงตามธรรมชาติที่สวยงาม โดยลดการใช้ไม้แบบได้ !
บูรณาการ 3 แง่มุมที่จำเป็นในงานสถาปัตยกรรม เพื่อให้เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
1.) ข้อจำกัดของวัสดุ และเครื่องมือ ทดสอบแรง และระบบการทำงานของ 3D Printing โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของวัสดุ และข้อจำกัดของเครื่องจักร
2.) ลักษณะการถ่ายแรงของโครงสร้าง: ปั้นชิ้นงาน 3D โดยเริ่มต้นจากรูปทรงเหลี่ยม แล้วทดสอบด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น การตอบสนองของโครงสร้างต่อแรงสั่นสะเทือน และเลือกออกมาเป็นรูปทรง Catenary Arch เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความทนทานต่อแรงโน้มถ่วง
3.) ฟังก์ชัน ประโยชน์ใช้สอย: เพื่อเชื่อมต่อสถาปัตยกรรมเข้ากับผู้คน และสังคม ในบริบทของงาน BKKDW2024 จึงออกมาเป็นพื้นที่นั่งรอ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวขนาดเล็กให้แก่คนในพื้นที่
Catenary Arch : ซุ้มคาเทนารี
– Bangkok Design Week 2024
– ลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง
– 27 ม.ค. – 4 ก.พ. 2024 เวลา 11.00-22.00 น.