782Views
ชวนส่องเทรนด์การออกแบบเพื่อโลกและสิ่งแวดล้อมแบบ Easy to Recycle และ Upcycle พร้อมร่วมส่งเสียงอวดไอเดียผ่านเวที ‘SCGP Packaging Speak Out 2022’
ต้องยอมรับว่าสำหรับวงการออกแบบในยุคปัจจุบัน เรื่องของสิ่งแวดล้อมกลายเป็นหนึ่งในบรรทัดฐานที่ถูกให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อได้เลยว่าจะกลายเป็นเรื่องที่ ‘ต้องมี’ ต้องถูกคิดในสำหรับทุกๆ ผลงานที่จะออกมาในทุกๆ อุตสาหกรรม
ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมแฟชั่นเองที่ทุกคนพูดถึงปัญหาของ Fast Fashion หรืออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ที่พอจะทิ้งซักทีก็กลายเป็นขยะชิ้นใหญ่ที่สร้างความหนักใจให้เราอยู่ไม่น้อย และอีกหนึ่งสิ่งใกล้ตัวที่มักจะกลายเป็นขยะก็คือเรื่องของ ‘บรรจุภัณฑ์’
จะด้วยปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นจากการที่ทุกคนใช้บริการของเดลิเวอรี หรือการใส่ใจเรื่องของความสะอาดที่เพิ่มขึ้น ทำให้ในมุมนักออกแบบต้องพยายามหาวิธีที่จะไม่ทำให้บรรจุภัณฑ์เหล่านั้นกลายเป็นขยะไปเสียเปล่าๆ
ในยุคนี้แค่บอกว่านำไปรีไซเคิลได้เฉยๆ คงไม่พออีกต่อไป ถ้าจะรีไซเคิลก็ต้องเติมความ ‘ง่าย’ เข้าไปด้วย (Easy to Recycle) หรืออีกเทรนด์ที่หลายๆ แบรนด์พูดถึงก็คือการเติมความสร้างสรรค์ เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่จะทิ้งให้กลายเป็นสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์กว่าเดิม หรือที่เรียกว่า ‘Upcycle’ นั่นเอง
สำหรับนักออกแบบหลายคนอาจจะคุ้นเคยกันอยู่บ้างแล้ว แต่เพราะเรื่องปกติ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ปกติสำหรับทุกคน วันนี้จึงอยากลองพาไปดูเรื่องราวของการออกแบบที่เป็นมิตรกับทั้งคนและโลก ในแบบฉบับ Easy to Recycle และ Upcycle ให้รู้จักกันเพิ่มขึ้น
แถมสำหรับนักออกแบบที่อ่านแล้วรู้สึกคันไม้คันมือ ก็มีรายละเอียดจากเวทีที่น่าสนใจอย่าง SCGP Packaging Speak Out 2022 เวทีประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับคนรุ่นใหม่ที่อยากจะเปลี่ยนโลก และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นมาฝากกันด้วย ตามไปอ่านกันเลย
ปัญหาแพคเกจจิ้งที่หลายคนมองเป็น ‘เรื่องปกติ’ อาจ ‘ไม่ใช่เรื่องปกติ’
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่ทุกคนพูดถึงว่าเราเข้าสู่ยุค New Normal ทำให้พฤติกรรมหลาย ๆ อย่างของเราเปลี่ยนไปจนในตอนนี้หลาย ๆ อย่างก็กลายเป็นพฤติกรรมปกติไปแล้ว เช่น เรื่องการสั่งอาหารเดลิเวอรีที่มีพลาสติก 5 ชิ้นต่อมื้อ หรือชอปปิ้งออนไลน์ที่ต้องห่อบับเบิ้ลกันกระแทกกัน 3 ชั้น
เรื่องเหล่านี้อาจกลายเป็นความเคยชินจนเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อมองดูปริมาณขยะพลาสติกไทยที่เพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ล้านตันต่อปี ติดอันดับ 12 ของโลก (ข้อมูลจาก Ocean Conservancy) แต่กลับ Recycle ได้เพียง 19% (ที่เหลือเป็นขยะปนเปื้อน) ทำให้สำหรับหลาย ๆ คน และสำหรับโลกใบนี้ ปัญหาเหล่านี้อาจจะไม่ใช่เรื่องปกติอีกต่อไป
หลาย ๆ คนต่างออกมาส่งเสียงให้เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของจิตสำนึกส่วนรวมของสังคม แต่แน่นอนว่าเรื่องจิตสำนึกก็เป็นเรื่องแบบนามธรรม ทุกคนยังต้องสั่งอาหาร ยังต้องสั่งของออนไลน์ จะแยกขยะก็งงจนแยกไม่ถูก
ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่จะเข้ามามีบทบาทนั่นคือ ‘การออกแบบที่ดี’ ที่จะช่วยส่งเสริมให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมได้ง่ายขึ้น จนเรื่องอย่างการแยกขยะกลายเป็นเรื่องที่ทำกันเป็นปกติ “RETHINK FOR BETTER NORMAL”
แค่ Recycle เฉย ๆ คงไม่พอ แต่ยุคนี้แพคเกจจิ้งต้อง ‘Easy to Recycle’
การนำแพคเกจจิ้งที่เราทิ้งไปรีไซเคิลเป็นเรื่องที่เราเรียน เราปลูกฝังกันมาตั้งแต่ประถม แต่ทุกคนรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย ใครไม่เชื่อลองหยิบขวกน้ำพลาสติกใกล้ตัวมาลองแยกดูว่ามีพลาสติกกี่ประเภท และต้องแยกยังไงบ้าง
นั่นทำให้คำว่ารีไซเคิลที่เราพูดถึงต้องเติมความง่าย ไม่ยุ่งยาก และไม่ซับซ้อนลงไปด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าแพคเกจจิ้งที่อยู่ในมือจะนำไปรีไซเคิลได้อย่างไร
ตัวอย่างเช่น ในเคสขวดน้ำที่พูดถึงด้านบน หลาย ๆ แบรนด์เครื่องดื่มก็พยายามเปลี่ยนขวดบรรจุภัณฑ์ให้รักสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น น้ำแร่ Evian ที่ผลิตขวดแบบไม่มีฉลาก/บาร์โค้ด ทำให้รีไซเคิลได้ 100% หรือสไปรท์ที่ยอมเปลี่ยนขวดสีเขียวอันเป็นอัตลักษณ์คู่แบรนด์ให้มาเป็นขวดใส
หรืออีกแบรนด์ที่หลายคนพูดถึงอย่าง Apple ที่แพคเกจจิ้งจะถูกคิดจากกระดาษรีไซเคิลให้มาออกมาให้เป็นชิ้นเดียว (ตอนแกะไม่ต้องใช้คัตเตอร์เลยด้วย!) แถมสำหรับอุปกรณ์ตั้งโต๊ะใหญ่ๆ เมื่อแกะแพคเกจจิ้งเรียบร้อย ตัวกล่องก็จะเปลี่ยนตัวเองเป็นเหมือนกระเป๋าให้เราสามารถพกพาไปที่อื่นได้ หรือที่เรียกกว่า Upcycle ที่จะเล่าให้หัวข้อถัดไปนั่นเอง !
เติมความสร้างสรรค์ใส่แพคเกจจิ้ง เปลี่ยนของที่จะทิ้งให้กลับมาเท่แบบ ‘Upcycle’
จากตัวอย่างที่แล้วสำหรับแพคเกจจิ้งของ Apple แทนที่เราจะทิ้งกล่องไปเฉยๆ เราก็เก็บกล่องเอาไว้ใส่ iMac ของเรา เปลี่ยนฟังก์ชัน Reuse เพื่อใช้พกพาขนย้ายไปที่อื่นได้ เรียกได้ว่าเป็นการ Upcycle ยืดอายุการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ให้ยาวนานขึ้นก่อนที่จะนำไปทิ้งนั่นเอง
อีกตัวอย่างการเปลี่ยนรูปร่าง (Transformation) บรรจุภัณฑ์ ให้กลายเป็นของสิ่งใหม่ที่มีฟังก์ชันต่างไปจากเดิม เช่น เวที TEDxYouth@Bangkok เมื่อปี 2020 ที่จะมีการส่งเซ็ท Kit Box ไปให้ผู้ร่วมงาน จึงร่วมมือกับ Kerry ใส่รอยประ ให้เราสามารถเปลี่ยนกล่องส่งพัสดุ กลายเป็นแท่นวางโน้ตบุ๊กเก๋ๆ ได้ !
ถ้าเปลี่ยนคนเดียวคงไม่พอ ชวนคนรุ่นใหม่มาส่งเสียงเปลี่ยนโลกด้วยแพคเกจจิ้งกันในเวที ‘SCGP Packaging Speak Out 2022’
แน่นอนว่าเรื่องแพคเกจจิ้งที่ออกแบบมาอย่างดีเพื่อให้ Easy to Recycle และ Upcycle ได้นั้นฟังดูแล้วก็เป็นเรื่องที่ดี แต่การจะออกแบบเพื่อให้ใช้งานได้จริงนั้นต้องผ่านกระบวนการคิด ตกผลึกไอเดียมากมาย
สำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่อยากส่งเสียงเพื่อให้โลกใบนี้ดีขึ้นผ่านแพคเกจจิ้ง คงไม่มีเวทีไหนเหมาะไปกว่า SCGP Packaging Speak Out 2022 อีกแล้ว เพราะเป็นอีกหนึ่งงานที่นอกจากจะได้โชว์ความสามารถ ยังมีโอกาสได้พัฒนา เกลาไอเดียที่เรามีให้นำไปใช้งานจริงได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย (อย่างของปีที่แล้วก็มีกรรมการระดับท็อปให้คำแนะนำด้วย)
โดยสามารถเลือกออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผ่านแนวคิด Easy to Recycle และ Upcycle โดยใช้พลาสติก, กระดาษ หรือทั้ง 2 ร่วมกัน เพื่อเป็นแพคเกจจิ้งสำหรับหลากหลายอุตสาหกรรม
- อาหารสด อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป รวมสินค้าการเกษตร เช่น ผักและผลไม้สด ธัญพืช อาหารทะเล อาหารแช่แข็ง และอาหารและขนมขบเคี้ยว
- ธุรกิจอีคอมเมิร์ช
- บริการส่งและนำกลับ อาหารและสินค้าต่าง ๆ
- เครื่องดื่ม
- สินค้าเพื่อการอุปโภค
- อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- เสื้อผ้า สิ่งทอ และรองเท้า
- เฟอร์นิเจอร์
ใครที่สนใจสามารถไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ลงทะเบียนทีมผู้สมัคร และส่งผลงานทางออนไลน์ได้ที่ ภายในวันที่ 1 สิงหาคม – 12 กันยายน 2565 ปิดรับผลงานเวลา 23.00 น.
- ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการต้องเป็นนักเรียนและนักศึกษา อายุระหว่าง 17-25 ปี โดยมีอายุไม่เกิน 25 ปี ในวันสุดท้ายของการส่งผลงานเข้าประกวด
- ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดสัญชาติ
- สามารถสมัครแบบทีม โดยมีสมาชิก 1-3 คน ซึ่งสามารถรวมกลุ่มจากต่างมหาวิทยาลัย ต่างสาขาวิชาได้